jojho

ท่านั่งและท่ายืนเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับคนทำงาน

    จากหนังสือบุคลิกภาพดีไม่มีโรคโดยคุณมานพ ประภาชานนท์  กล่าวว่า ท่ายืนและท่านั่ง   มีผลต่อสุขภาพคุณมากยิ่งคนทำงานบางครั้งเร่งรีบและมองข้ามความสำคัญกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น การนั่ง นอน ยืน เดิน ท่านั่งขับรถ ฯลฯซึ้งเหล่านี้ไม่ควรมองข้ามเพราะสามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา อาทิเช่น ปวดเมื่อยหลัง ปวดศรีษะ ซึ่งบางคนก็ต้องพึ่งพาหมอหรือยาแต่ความจริงแล้วถ้าเรารู้วิธีปฎิบัติบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสมโรคภัยไข้เจ็บก็จะลดน้อยลงและวันนี้ทางเรามีท่าที่ถูกต้อเพื่อสุขภาพทมาฝากค่ะลองเช็คตัวเองไปพร้อมๆกันน่ะค่ะ  1.ท่านั่งทำงานกับโต๊ะ  เก้าอี้และโต๊ะทำงานควรมีระดับความสูงที่พอเหมาะกับตัวเองและเลือกเก้าอี้ควรที่จะสามรถปรับระดับความสูงได้เหมาะและหมุนได้หรือถ้าเป็นเก้าอี้ธรรมดาก็ลองหาหาหมอนหรือผ้ารองเพื่อนั่งสบายและควรควรมีที่พักเท้า ส่วนแขนควรวางบนโต๊ะข้อศอกควรงอประมาณ70-80 องศา    2.ท่านั่งทำงานกับกับคอมพิวเตอร์   ควรวางแป้นพิมพ์ที่ให้ต่ำกว่าตัวที่วางจอคอมพิวเตอร์ให้แขนขนานอยู่แนวเดียวกับโต๊ะหากต้องพิมพ์งานควรหาขาตั้งวางต้นฉบับให้เอียงขึ้นในระดับสายตา  3.ท่านั่งเขียนหนังสือ  ควรนั่งหลังตรงและถ้าคุณต้องนั่งเขียนหรืออ่านเป็นประจำก็ควรปรับระดับพื้นโต๊ะให้เอียงขึ้นพอเหมาะคอจะได้ไม่ต้องก้มมาก และนี้เป็นอีก2ท่าที่นำมาฝากค่ะซึ่งก็สำคัญมากเช่นกัน  4.ท่ายืนบรรยาย  และถ้างานของคุณต้องยืนพูดนานๆนั้น ควรมีเก้าอี้เตี้ยๆหรือวางที่วางเท้าเพื่อพักเท้าข้างใดข้างหนึ่งไว้สลับกัน ส่วนแขนจะวางบนแท่นที่พูดก็ได้  5.ท่านั่งขับรถ  ควรจัดเก้าอี้นั่งอยู่ใกล้พวงมาลัยพอควร เข่าและสะโพจะต้องอยู่ในท่างอและเท้าเหยียบเบรคจนสุด ปรับเบาะเอนไปข้างหน้าเล็กน้อยบริเวณพนักพิงควรมีที่รองเอว    ที่มา:จากหนังสือบุคลิกภาพดี  รูปภาพประกอบ:internet  ที่มา http://variety.teenee.com/foodforbrain/50702.html

เปิดผลวิเคราะห์”ยาข้อเสื่อม” มีคุณภาพแต่ต้องเลือก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการตรวจสอบคุณภาพ "ยากลูโคซามีน" หรือยารักษาอาการข้อเสื่อม ทั้งรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่แนะนำผู้ป่วยข้อเสื่อมพิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยากลูโคซามีน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่ามีจำนวน 131 ตำรับ จาก 44 บริษัท และมีหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงร่วมมือกับ อย.ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลูโคซามีนจากผู้ผลิตและโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยาให้แก่ประชาชน จำนวน 90 ตัวอย่าง ทั้งประเภทยาเม็ด ยาแคปซูล และยาผงสำหรับละลายน้ำ โดยพบว่ายาเม็ดขนาดความแรง 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวน 8 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ทุกตัวอย่าง ยาแคปซูลขนาดความแรง 250 และ […]

10 วิธีถนอมกระดูกสันหลังของคุณ

กระดูกสันหลังที่เป็นเสาหลักของร่างกาย เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททุกเส้น ที่ออกไปควบคุมการทำงานของร่างกายในทุกระบบ เพื่อให้ร่างกายไม่ถูกทำร้ายด้วยความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีวิธีการหลีกหนีความเสี่ยงที่จะทำร้ายกระดูกสันหลังจาก ซีเคร็ท เชพ เวลเนส เซ็นเตอร์ (Secret Shape Wellness Center)   10. การนอนขดตัว/นอนตัวเอียง  ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง    9. การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ  การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ    8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว  ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้    7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง  จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง    6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม  ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง    5. […]

โรคข้อเข่าเสื่อม

ประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนกว่า 7 ล้านคนและการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าก็ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่โรคที่ยังพบมากในผู้สูงอายุก็คือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการผ่าตัดในผู้สูงอายุแพทย์ยอมรับมีความเสี่ยง แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก และการรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด ทีมแพทย์ต้องบล็อคหลังหรือวางยาสลบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย แต่หลังจากมีข่าวถึงภาวะแทรกซ้อนลิ่มเลือดแข็งตัวที่ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล. ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์ บอกว่าภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งที่แพทย์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องทเกิดขึ้นได้ด้วยด้วยปัจจัยหลายอย่าง  ทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยโดยแพทย์เพิ่งนำมาใช้มาต้นเดือนเมษายน โดยความร่วมมือของสถาบันโรคกระดูกของสหรัฐอเมริกา คือ การใช้เทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อและสะโพกเทียมโดยแขนกล จะตัดเฉพาะส่วนกระดูกที่เสื่อมออกผ่านจากภาพ 3 มิติ ทำให้รักษาส่วนกระดูกดีไว้ได้ ผู้ป่วยจะพักฟื้นที่ รพ.เพียง 2 วันและเดินได้ด้วยเครื่องช่วยพยุงภายใน 24 ชั่วโมง  การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายเกินหลักแสน วิธีป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรแพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่ ลดการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน หรือ ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดจะใช้สุขาแบบนั่งยองมากกว่าชักโครก เพิ่มข้อเข่าเสื่อมไปอีก  สถิติของโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่ามีอายุลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปีก็มีมารักษา ส่วนอายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้น โดยคนไทยมีผู้สูงอายุอยู่ที่กว่า 7.8 ล้านคน พบว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 2.6 ล้านคน มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis

ข้อแนะนำ . 1. โรคนี้ในระยะแรกจะมีอาการปวดเหมือนโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง , หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ       รากประสาทถูกกด, ข้อเสื่อม , แต่ถ้าพบเป็นเรื้อรังในชายหนุ่ม มักปวดตอนเช้าก่อนตื่นนอน และ       อาการทุเลาหลังบริหารร่างกาย ก็ควรคิดถึงโรคนี้  2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ระยะและความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละคน           ส่วนการรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถร่นระยะเวลาของโรคที่เป็น และไม่อาจป้องกันการติดแข็ง       ของข้อ       ในรายที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยคงสภาพ       การทำงานของร่างกาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้  3. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้      (1) […]

โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบคืออะไร

โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบหมายถึงกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของข้อกระดูก สันหลังและข้อรยางค์ (แขนและขา) ร่วมกับการอักเสบของปลายเอ็นส่วนที่ยึดติดกับกระดูก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดตึงหลัง ปวดข้อของแขนหรือขา และเจ็บที่เอ็น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแสดงในระบบอื่นๆ เช่น ผื่นผิวหนัง ตาแดง ตามัว หรือท้องเสีย เป็นต้น โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 5 โรคได้แก่ 1. โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (ankylosing spondylitis) 2. โรคข้ออักเสบรีแอ๊คตีฟ (reactive arthritis) 3. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis) 4. โรคข้ออักเสบร่วมกับโรคลำไส้อักเสบ (enteropathic spondyloarthropathy) 5. โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบที่ยังไม่ทราบชนิด (undifferentiated spondyloarthropathy) สาเหตุโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบคืออะไร สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ อย่างไรก็ตามพบว่าสมาชิกของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลัง อักเสบจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับยีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า HLA-B27 ดังนั้นจึงเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติน่าจะเป็นสาเหตุที่ สำคัญของโรคนี้ นอกจากนี้การติดเชื้อโรคบางชนิดเช่น เชื้อคลามัยเดียที่ทำให้เกิดการอักเสบของท่อปัสสาวะ หรือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดท้องร่วงเช่น เชื้อซาโมเนลลา ก็สามารถกระตุ้นให้โรคข้ออักเสบรีแอ๊คตีฟกำเริบขึ้นได้ ดังนั้นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการติดเชื้อจึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีก ประการหนึ่งที่มากระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น ใครมีโอกาสเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบบ้าง  โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบพบบ่อยในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง […]

ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis

ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis ลักษณะทั่วไป  โรคนี้มีภาวะการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังแบบเรื้อรัง และค่อย ๆ รุนแรงขึ้น  จนมีการเชื่อมต่อกันของข้อต่อกระดูก พบได้ประปราย จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง   (ผู้ป่วยชายต่อผู้ป่วยหญิงเท่ากับ 7 : 1 ) และมักพบในคน หนุ่มสาว   สาเหตุ  ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย   ต่อเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อกระดูกต่าง ๆ (ออโตอิมมูน) และสันนิษฐานว่า อาจเกี่ยวข้องกับ  กรรมพันธุ์ อาการ  ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดข้อโดยเฉพาะปวดหลังหรือบั้นเอว เมื่ออายุประมาณ 20 ปี   (ระหว่าง 10 – 30  ปี) เริ่มปวดเมื่อมีอายุมากกว่า 30 ปี พบได้น้อย บริเวณที่ปวด เรียงลำดับตามที่พบมาก ได้แก่ บั้นเอว  แก้มก้น   ทรวงอก หัวเข่า ส้นเท้า หัวไหล่ และข้อมือ ในระยะแรกมักมีอาการปวดเป็นครั้งคราว และดีขึ้น จากการกินยาแก้ปวด […]

ผลที่ตามมาของการเป็นโรค AS

โรค AS นอกจากทำให้คอ หลังแข็งติดกันกันจนก้มไม่ได้แล้ว มีใครที่ข้อเท้า ข้อเข่า หรือข้อสะโพกอักเสบจนกลายเป็นข้อเสื่อมบ้าง (มีเสียงดังกรุ๊บกรั๊บในข้อเวลาเคลื่อนไหวหรือขยับตัวและมีอาการปวด) และรักษายังไง ช่วยแชร์ประสบการณ์กันหน่อยนะ เพราะตอนนี้ข้อกำลังเสื่อมอยู่ [ ข้อความจากคุณ มะขามป้อม ]  ของผม เขาขวาบวมมากอักเสบมานานผังผืนเลยหนา ทั้ง2ขางอได้ไม่เยอะ(เวลาห้องนําถ้าเป็นแบบเก่านั่งหยองๆอะเล่นเอาเกือบแย่) ศอกขวางอ สะโพก(ขาหนีบ)นานๆเป็นทีครับ  [ ข้อความจากคุณ ซีชล ]  จากการที่ ได้ไปศึกษามา รู้ว่าในขณะที่มีการอักเสบตรงข้อไหนก็แล้วแต่ กระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อตรงนั้นมันจะมีการบวมและนุ่มขึ้นทำให้มันถูกทำลาย ได้ง่าย (จากภูมิคุ้มกันของเรามันทำลายข้ออยู่) เพราะฉะนั้นต้องพักข้ออย่าฝืนใช้งานมันมาก ถ้าเป็นที่เข่า สะโพกก็อย่าไปยืนหรือเดินมากหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมาก เช่นนั่งยองๆ พับเพียบ คุกเข่า ขึ้นลงบันได (ถ้าไปทำบุญที่วัดก็หาเก้าอี้มานั่งนอกศาลา) ส้วมที่นั่งยองก็เปลี่ยนเป็นส้วมที่นั่งราบหรือชักโครก ถ้าไม่มีก็ไปซือที่วางแบบ 3 ขาที่ร้านขายยามานั่ง อย่าฝืนใช้ข้อนะครับไม่งั้นข้อจะเสื่อมเมือนผม อาการคือมีเสียงกระดูกสะโพกลั่นดังกึกๆเวลางอขา(จากที่กระดูกอ่อนผิวข้อที่ ขรุขระมันเสียดสีกัน)ในอนาคตความเจ็บปวดตรงที่ลั่นจะตามมา เวลาเราเจ็บป่วยไปพบแพทย์ เขาก็ไม่ค่อยอธิบาย เข้าใจว่ามีคนไข้เยอะเลยไม่มีเวลาให้เรา แต่พอเราข้อเสื่อมขึ้นมาก็หาว่าเราใช้ข้อมากไป พล่ามอะไรละนี่…ก็ขอเตือนเพื่อนๆไว้ละกันนะเพราะเสื่อมแล้วเสื่อมเลยไม่มี ทางรักษา(ยกเว้นผ่าตัด) มีแต่ยาชะลอไม่ให้มันเสื่อมมากขึ้นคือ Viatril-s กับDiacerein กินเท่านั้น  […]

จากประสบการณ์ที่เจอและควรระวังสำหรับท่านที่เป็นโรค AS

จากประสบการณ์ที่เจอและควรระวังสำหรับท่านที่เป็นโรค AS สำหรับจากที่ผมได้เป็นโรคนี้มานานจน 10 ปีแล้วผมก็ได้รักษาตามอาการที่เป็นอยู่ตามแพทย์โรคไขข้อประจำ ตอนนั้นอาการผมเพียงลุกนั่งไม่ค่อยได้เริ่มจะดีขึ้นแล้วแต่แล้วเหตุการณ์ที่ สุดซวยก็เกิดขึ้น หลังจากผมตื่นนอนตอนเช้าเพียงผมก้าวขาขวายกขึ้นแล้วเกิดอาการที่จะล้มแต่ไม่ ล้มเท่านั้นแหละคับ ได้มีเสียงกึกในหลังหลังผม ผมก็มีอาการเหงื่อแตก ปวดเอวขวาและกล้ามเนื้อหลังกระตุ๊กตลอดเวลา ตอนนั้นเหมือนตกนรกทั้งเป็นและผมเหมือนจะช็อกและหายใจไม่ทันจนต้องรีบส่งตัว ฉุกเฉินเข้าร.พด่วน(ไม่ขอบอกว่าชื่อร.พอะไรนะคับ) หมอก็ได้วินิฉัยว่าเกิดจากโรคที่ผมเป็นอยู่โดยหมอได้ดูแผ่นฟิล์มX-RAYอัน เก่าก่อนที่ผมได้เกิดเหตุ4วัน ซึ่งผมได้รักษาตามอาการไปเรื่อยๆแต่ผมก็ลุกนั่งไม่ได้และเวลาเดินเจออะไร สะเทือนหลังนิดเดียวก็จะหลังอย่างมากและก้าวยกขาขึ้นไม่ได้ตัวจะแข็งตลอด เวลาจนต้องรีบนอนพักประมาณครึ่งวันจึงจะดีขึ้นเวลาจะลุกขึ้นจากเตียงต้อง ค่อยๆลุกช้าๆต้องคนคอยช่วยพยุงตัวตลอด จนหมอได้ให้ยาทานจนถึงขั้นยาทานสูงสุดแล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นและค่าความอักเสบยังสูงอยู่ไม่ลดลงเลย จนวันที่ 11 มิ.ย 51 ที่ผ่านมาคุณหมอจะเปลี่ยนเป็นยาฉีดให้ผมซึ่งมีราคาแพงๆๆๆมาก ผมจึงขอตัดสินใจคิดดูก่อนและได้ขอคุณหมอX-RAYหลังอีกที ซึ่งตอนแรกหมอไม่ให้เพราะกลัวเปลืองเงินเปล่าๆแต่ผมขอร้องว่าอาการของผมนั้น มันผิดปกติไปจากเดิมท่านจึงได้ให้X-RAYและเซ็นใบมาให้ จนผมนำแผ่นฟิล์มX-RAYอันล่าสุดไปให้คุณหมอเท่านั้นแหละคับ คุณถึงกลับตกใจว่ากระดูกหลังของผมนั้นได้หักไปท่อนหนึ่ง คุณหมอจึงได้รีบส่งตัวผมไปให้หมอกระดูกเป็นการด่วน…คุณหมอได้ให้X-RAY MRI ทันทีว่าจะต้องมีการผ่าตัดหรือเปล่า สรุปผลปรากฏว่าผมโชคยังดีคับว่าไม่ไปโดนเส้นประสาทซึ่งคุณหมอกระดูกบอกว่า การหักนั้นเกิดจากโรคของเราเองเพราะว่ากระดูกจะแข็งมากแต่เปราะง่ายกว่าคน ทั่วไปซึ่งเพียงเราเดินสะดุดอะไรเล็กน้อยแล้วล้มก็สามารถทำให้หักได้ง่ายคุณ หมอก็ได้ให้ยาแคลเซียมมาทานเพิ่มอย่างเดียวและส่วนยาอื่นๆที่คุณหมอโรคไขข้อ ให้มาก็ทานปกติเพราะว่าเดี๋ยวกระดูกจะเชื่อมต่อกันเองเพราะโรค AS ที่เราเป็นอยู่นี้จะทำให้กระดูกเชื่อมต่อได้เร็วกว่าคนปกติทั่วไปด้วย (โรคASก็มีดีเหมือนกันน่ะเนี๊ย) และระวังตัวเองตามที่แพทย์สั่งตลอดเวลา จนเวลาผ่านมาได้ 3 เดือนอาการของผมได้ดีขึ้นมากแต่มีการหลังค่อมลงอีกและไม่ค่อยมีแรงเวลาลุก ต้องมีคนช่วยนั่งที่เตี้ยไม่ได้อาการของโรค AS ก็ยังดำเนินต่อไปอยู่และผมไม่ต้องเปลี่ยนเป็นยาฉีดแล้วเพราะยาสำหรับทานยัง สามารถควบคุมอาการได้อยู่แต่สำหรับอนาคตต่อไปยังไม่ทราบนะคับ …………………….. * ปล.ที่ผมเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผมให้รู้เพื่ออยากให้ทุกท่านที่เป็นโรค AS […]

ทำความรู้จักกับโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )

โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( โรคหลังอักเสบแองคัยโรสซิ่ง , ANKYROSING SPONDILITIS ) ดัดแปลงจากเอกสารของ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย   1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึดคืออะไร ? โรค ข้อสันหลังอักเสบติดยึดเป็นกลุ่มโรคข้ออักเสบที่มีการอักเสบของกระดูก สันหลังร่วมกับมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเป็นไปนาน ๆ จะมีกระดูกงอกออกมาเชื่อมกระดูกสันหลัง ข้อสะโพกให้ติดกัน เกิดความพิการตามมา 2. สาเหตุของโรคนี้คืออะไร? สาเหตุของโรคนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม 3. ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคนี้? โรคนี้พบได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 10-20 เท่า โดยเฉพาะช่วงอายุ 20-30 ปี 4. อาการและอาการแสดงของโรคนี้มีอะไรบ้าง? ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน มีอาการมากในตอนเช้า และ อาการจะดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือได้ออกกำลังกาย เมื่อกระดูกสันหลังอักเสบนาน ๆ จะมีหินปูนมาจับบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกัน หลังจะแข็ง ก้มไม่ได้ ใน บางรายอาจมีการเชื่อมกันของกระดูกซี่โครง ทำให้หายใจลำบาก อาจมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ […]

1 11 12 13 14