โรคข้อ

methotrexate กับ ข้ออักเสบ

ยา methotrexate เป็นยาที่มีมานานแล้ว ปกติเป็นยาที่ใช้รักษามะเร็ง ต่อมามีผู้นำมาใช้รักษาข้ออักเสบ สะเก็ดเงิน พบว่าข้ออักเสบดีขึ้น จึงมีการนำมาใช้รักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ พบว่าได้ผลดีมาก ระยะแรกของการใช้พบผลข้างเคียงจาก methothrexate พอสมควร เช่นตับอักเสบ ตับแข็ง ภาวะเม็ดโลหิตขาวต่ำ หรือ กดไขกระดูก มีผมร่วงได้เพราะยังไม่ทราบขนาดที่แน่นอนของการรักษา วิธีการให้ยา และ การหลีกเลี่ยงหรือติดตามผลข้างเคียง ปัจจุบันเรามีความรู้มากขึ้น พบว่าเป็นยาที่ดี ใช้รักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และโรคทางระบบภูมิคุ้มกันหรือภูมิไวเกินอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีหลักฐานในการวิจัยอย่างมากมายที่สนับสนุนประสิทธิภาพในการรักษาและเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ยาหลายตัวชนิดใหม่ๆที่จะออกมาจำหน่าย ในการรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์จะต้องทำการเปรียบเทียบประสิทะภาพกับ methotrexate เสมอ การบริหารยาจะให้สัปดาห์ละ1 ครั้ง แพทย์บางท่านอาจจะให้ จันทร์ พุธ ศุกร์ แต่จะไม่ให้ติดต่อกันทุกวัน เพราะพบผลข้างเคียงมากกว่า แพทย์หลายท่านจะให้ ยา folic ซึ่งเป็นวิตะมินตัวหนึ่งร่วมด้วยเพื่อลดผลข้างเคียงของยาตัวนี้ ขนาดของการใช้มักจะใช้ ประมาณ 2- 6 เม็ด อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและประสบการณ์ของแพทย์ผู้รักษาแต่ละคน โดยทั่วไปพบผลข้างเคียงน้อย แต่เนื่องจากเป็นยาอันตราย จึงต้องอยู่ในการดูแลรักษาโดยแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ที่ชำนาญการ […]

ม่านตาอักเสบ กับ โรคข้ออักเสบ

ช่วงนี้ผมเองมีอาการม่านตาอักเสบ อีกครั้งหลังจากเป็นเมื่อหลายปีก่อน เลยต้องกลับมาหาข้อมูลอีกครั้งและไปเจอโพสเก่าๆในแฟนเพจของเราเองเมื่อ สองปีก่อนมันเป็นข้อมูลที่เราได้พูดคุยกันและเป็นประโบชน์มากๆสำหรับผมเอง และใครอีกหลายๆคนเลยขอนำเสนออีกครั้ง สามารถกลับไปอ่านได้ ที่ https://www.facebook.com/thaiasclub/posts/10151047169675364

เครื่องดื่มแก้วโปรดเร่งข้อเข่าเสื่อม

คนเราเกิดมาหลีกหนีความเสื่อมของสภาพร่างกายไม่พ้น และหนึ่งความเสื่อมที่พบได้มากก็คือ ข้อเข่าเสื่อม อย่างเช่นที่อังกฤษมีผู้สูงอายุประสบปัญหาข้อเข่าเสื่อมและกระทบต่อการใช้ชีวิตถึง 6 ล้านคน แม้ปัญหาข้อเข่าเสื่อม คนส่วนใหญ่จะรู้กันดีว่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ น้ำหนักตัวมากเกินไป, อิริยาบถไม่เหมาะสม เช่น นั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ, ขาดแคลเซียม, หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ทว่านักวิจัยจากโรงพยาบาลบริกแฮมและสตรีในบอสตัน อเมริกา พบว่า พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก็เป็นอีกสาเหตุที่จะเพิ่มโอกาสให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แถมยังเร่งให้อาการเกิดเร็วขึ้นอีกต่างหาก ดร.บิง ลู หัวหน้าทีมวิจัย เล่าว่า ทีมวิจัยทำการศึกษาจากผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 2,149 ราย จากนั้นจะติดตามพัฒนาการของโรคจากการเอ็กซเรย์ในระยะ 12 เดือน 24 เดือน 36 เดือน และ 48 เดือน พร้อมกับสอบถามพฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะน้ำอัดลมด้วย ผลการติดตามพัฒนาการของโรคพบว่า ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 5 แก้วต่อสัปดาห์ กระดูกอ่อนภายในข้อเข่าของพวกเขาบางลงเฉลี่ย 0.59 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ดื่มน้ำอัดลม โดยกลุ่มหลังนี้กระดูกอ่อนในข้อเข่าบางลงเฉลี่ยแค่ 0.29 มิลลิเมตร ยิ่งไปกว่านั้น การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเพศชายที่มีน้ำหนักตัวปกติ […]

อยากให้เรามีแต่ข้อดี

ทัศนะดีๆ ของ “รศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช” ศัลยแพทย์มือหนึ่งด้านกระดูก ที่ปรารถนาให้ทุกคนมี “ข้อดี” จากความ “คิดดี” รักษาผู้ป่วยมาก็มาก จนได้รับคำยกย่องว่าเป็น ‘มือหนึ่ง’ ด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ แต่แท้จริงแล้ว รศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช มีดีกว่าเรื่องกระดูก เพราะเขาคือคุณหมอที่มี ‘ใจ’ แข็งแรงและงดงาม คนไข้ 1,000 ราย คือเป้าหมายที่คุณหมอกีรติตั้งไว้ว่าจะต้องรักษาให้ได้ แต่การรักษาโดยผ่าตัดไม่ใช่คำตอบสุดท้ายอันยั่งยืน ‘กระดูกและข้อ’ เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจมากกว่านั้น เขาจึงคลอดหนังสือ ‘อยากให้เรามีแต่ข้อดี’ เพื่อเสริมความเข้าใจเรื่อง ‘ข้อ’ สำหรับทุกคนในครอบครัว หนังสือเล่มนี้คุณหมอเขียนเอง ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่ผ่าตัดเป็นส่วนมาก รู้สึกว่าก่อนที่จะผ่าตัด ถ้าทำให้คนไข้ไม่ต้องถูกผ่าตัด น่าจะเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ถูกที่สุด เพราะต่อให้ผ่าตัด คิดว่าผ่าแล้วจะหมดไป มันไม่ใช่ คนไข้ยิ่งเยอะขึ้นๆ ก็รู้สึกว่า “เอ๊ะ! การผ่าตัดไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก” คุณหมออยากให้คนไข้ได้ดูแลตัวเอง ป้องกันตัวเองก่อนที่จะถึงขั้นถูกผ่าตัด นี่คือสิ่งที่ทำให้เขาอยากจะมีหนังสือสักเล่มหนึ่ง ให้คนไข้ได้รู้ว่าทำอย่างไรเพื่อดูแลตัวเอง และลดอัตราเสี่ยงของความสึกหรอหรือโรคที่พวกเขาเป็น ได้รู้จักเสียก่อน รู้ว่าอยู่กับโรคนี้อย่างไรอย่างเป็นสุข เป็นปกตินี่เป็นความสุขแล้ว แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาเป็นปกติได้ มันจะเสื่อมก็จริง […]

กระดูกสันหลังคดแก้ได้

รศ.นพ.สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด หลายคนสอบถามมาเรื่องกระดูกสันหลังคด ไม่แน่ใจว่าลูกหลานเป็นโรคนี้หรือไม่ มาฟังคำตอบค่ะ โรคกระดูกสันหลังคด หมายถึง การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลัง ที่มีการคดออกไปด้านข้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อ หรือระบบประสาทผิดปกติ เกิดร่วมกับโรคท้าวแสนปม และสาเหตุอื่นๆ อีกหลายประการ แต่ที่พบบ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดทุกชนิด คือ กระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ มักพบในช่วงอายุระหว่าง 10-15 ปี อาการของผู้ป่วย คือ มีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน ระดับเอวไม่เท่ากัน ด้านหลังนูน คิดว่าหลังโก่ง ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจึงมักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีอาการปวดหลัง นอกจากการตรวจดูลักษณะที่ผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และส่งตรวจทางรังสีเพื่อการวินิจฉัย ประเมินระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังคด และพิจารณาให้การรักษา ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง คือ การสังเกตอาการ การใส่เสื้อเกราะ และการผ่าตัด การสังเกตอาการ ในกรณีที่มีความคดน้อยกว่า 20-30 องศา แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดทุก […]

นวัตกรรมใหม่รักษาข้อเข่าเสื่อม ปลูกกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดผ่านกล้อง

ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอายุน้อยลงและมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ล่าสุดได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขึ้นมารองรับ นั่นคือ การปลูกถ่ายกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดโดยการผ่าตัดผ่านกล้องวีดิทัศน์ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมหาศาล เพราะนอกจากจะช่วยลดความเจ็บปวดแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นตามธรรมชาติ    โดย พ.ต.อ.นพ.ธนา ธุระเจน นายแพทย์ สัญญาบัตร 5 (สบ 5) กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยถึงการพัฒนานวัตกรรมของเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem Cell ) จากเลือดเพื่อการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ว่า โรงพยาบาลตำรวจได้ทำโครงการวิจัยพัฒนาการรักษาโรคกระดูกอ่อนของข้อเข่าที่มีการบาดเจ็บและข้อเสื่อมระยะต้นมาตั้งแต่ปี 2554 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ มูลนิธิเวชดุสิต Thai Stem Life Co.Ltd TRB chermedica Co.Ltd และ พล.ต.ท.นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงและมีข้อจำกัดหลายประการ จึงได้คิดค้นโดยการ ใช้เลือดของผู้ป่วยเอง โดยไม่ต้องเจาะจากไขกระดูกเชิงกรานที่สร้างความเจ็บปวด อีกทั้งยังได้จำนวนที่ไม่เพียงพอ และสามารถนำมาปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ได้ในครั้งเดียวเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ปกติแล้วกระดูกอ่อนของเรามีปัญหา คือเวลาเสื่อมแล้วต้องรอวันเสียอย่างเดียว ส่วนมากพบในนักกีฬาและผู้ที่นั่งงอเข่านาน ๆ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการพยายามปลูกกระดูกอ่อนเพื่อนำมาทดแทน […]

เปิดผลวิเคราะห์”ยาข้อเสื่อม” มีคุณภาพแต่ต้องเลือก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการตรวจสอบคุณภาพ "ยากลูโคซามีน" หรือยารักษาอาการข้อเสื่อม ทั้งรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่แนะนำผู้ป่วยข้อเสื่อมพิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยากลูโคซามีน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่ามีจำนวน 131 ตำรับ จาก 44 บริษัท และมีหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงร่วมมือกับ อย.ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลูโคซามีนจากผู้ผลิตและโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยาให้แก่ประชาชน จำนวน 90 ตัวอย่าง ทั้งประเภทยาเม็ด ยาแคปซูล และยาผงสำหรับละลายน้ำ โดยพบว่ายาเม็ดขนาดความแรง 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวน 8 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ทุกตัวอย่าง ยาแคปซูลขนาดความแรง 250 และ […]

โรคข้อเข่าเสื่อม

ประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนกว่า 7 ล้านคนและการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าก็ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่โรคที่ยังพบมากในผู้สูงอายุก็คือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการผ่าตัดในผู้สูงอายุแพทย์ยอมรับมีความเสี่ยง แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก และการรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด ทีมแพทย์ต้องบล็อคหลังหรือวางยาสลบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย แต่หลังจากมีข่าวถึงภาวะแทรกซ้อนลิ่มเลือดแข็งตัวที่ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล. ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์ บอกว่าภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งที่แพทย์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องทเกิดขึ้นได้ด้วยด้วยปัจจัยหลายอย่าง  ทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยโดยแพทย์เพิ่งนำมาใช้มาต้นเดือนเมษายน โดยความร่วมมือของสถาบันโรคกระดูกของสหรัฐอเมริกา คือ การใช้เทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อและสะโพกเทียมโดยแขนกล จะตัดเฉพาะส่วนกระดูกที่เสื่อมออกผ่านจากภาพ 3 มิติ ทำให้รักษาส่วนกระดูกดีไว้ได้ ผู้ป่วยจะพักฟื้นที่ รพ.เพียง 2 วันและเดินได้ด้วยเครื่องช่วยพยุงภายใน 24 ชั่วโมง  การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายเกินหลักแสน วิธีป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรแพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่ ลดการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน หรือ ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดจะใช้สุขาแบบนั่งยองมากกว่าชักโครก เพิ่มข้อเข่าเสื่อมไปอีก  สถิติของโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่ามีอายุลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปีก็มีมารักษา ส่วนอายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้น โดยคนไทยมีผู้สูงอายุอยู่ที่กว่า 7.8 ล้านคน พบว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 2.6 ล้านคน มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis

ข้อแนะนำ . 1. โรคนี้ในระยะแรกจะมีอาการปวดเหมือนโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง , หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ       รากประสาทถูกกด, ข้อเสื่อม , แต่ถ้าพบเป็นเรื้อรังในชายหนุ่ม มักปวดตอนเช้าก่อนตื่นนอน และ       อาการทุเลาหลังบริหารร่างกาย ก็ควรคิดถึงโรคนี้  2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ระยะและความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละคน           ส่วนการรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถร่นระยะเวลาของโรคที่เป็น และไม่อาจป้องกันการติดแข็ง       ของข้อ       ในรายที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยคงสภาพ       การทำงานของร่างกาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้  3. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้      (1) […]

โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบคืออะไร

โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบหมายถึงกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของข้อกระดูก สันหลังและข้อรยางค์ (แขนและขา) ร่วมกับการอักเสบของปลายเอ็นส่วนที่ยึดติดกับกระดูก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดตึงหลัง ปวดข้อของแขนหรือขา และเจ็บที่เอ็น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแสดงในระบบอื่นๆ เช่น ผื่นผิวหนัง ตาแดง ตามัว หรือท้องเสีย เป็นต้น โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 5 โรคได้แก่ 1. โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (ankylosing spondylitis) 2. โรคข้ออักเสบรีแอ๊คตีฟ (reactive arthritis) 3. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis) 4. โรคข้ออักเสบร่วมกับโรคลำไส้อักเสบ (enteropathic spondyloarthropathy) 5. โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบที่ยังไม่ทราบชนิด (undifferentiated spondyloarthropathy) สาเหตุโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบคืออะไร สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ อย่างไรก็ตามพบว่าสมาชิกของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลัง อักเสบจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับยีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า HLA-B27 ดังนั้นจึงเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติน่าจะเป็นสาเหตุที่ สำคัญของโรคนี้ นอกจากนี้การติดเชื้อโรคบางชนิดเช่น เชื้อคลามัยเดียที่ทำให้เกิดการอักเสบของท่อปัสสาวะ หรือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดท้องร่วงเช่น เชื้อซาโมเนลลา ก็สามารถกระตุ้นให้โรคข้ออักเสบรีแอ๊คตีฟกำเริบขึ้นได้ ดังนั้นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการติดเชื้อจึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีก ประการหนึ่งที่มากระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น ใครมีโอกาสเป็นโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบบ้าง  โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบพบบ่อยในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง […]

1 2 3 4