ปวดหลัง

ปวดหลังป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม

ปัญหาเรื่องอาการปวดหลังนับว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดเนื่องมาจากกระบวนการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและบริเวณข้อต่อของกระดูกสันหลัง ในวัยหนุ่มสาวหมอนรองกระดูกทำหน้าที่ในการลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังในแต่ละระดับ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นหมอนรองกระดูกจะเกิดการเสื่อม ปริมาณนํ้าที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกจะลดปริมาณลง ทำให้ความยืดหยุ่นและการทำงานของหมอนรองกระดูกไม่ดี ร่วมกับการเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง ปัจจัยในเรื่องของนํ้าหนักร่างกายก็มีผลเป็นอย่างมาก ในคนที่มีนํ้าหนักมากจะทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังรับนํ้าหนักมากกว่าปกติจึงมีผลทำให้อุบัติการณ์ในการปวดหลังเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่มีนํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้เรื่องของพฤติ กรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งในเรื่องของการนั่ง การนอน การทำงาน ก็จะมีผลโดยตรงกับอาการปวดหลัง วันนี้ผมก็อยากแนะนำวิธีการบางประการในการหลีกเลี่ยงความ เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลัง พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง และป้องกันอาการปวดหลังได้แก่ 1. การนั่ง ไม่ควรนั่งกับพื้น ทั้งในท่านั่งขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบ เพราะการนั่งกับพื้นจะทำให้นํ้าหนักส่วนใหญ่ไปลงที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ทำให้กระดูกหลังรับนํ้าหนักมากและทำให้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ตํ่า เพราะการนั่งเก้าอี้ตํ่า ๆ มีลักษณะคล้ายกับการนั่งพื้น จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงอย่างถูกวิธีคือนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้โดยหลังไม่โก่งและให้หลังชิดพนักพิง ไม่ควรนั่งเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงหลัง 2. การยกของ อย่าก้มลงยกของเพราะกล้ามเนื้อหลังจะเป็นส่วนออกแรง ทำให้เกิดอาการอักเสบ ฉีกขาดได้ โดยควรย่อเข่าลงนั่ง ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา 3. การทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ การนั่งหลังโก่ง นั่งบิด ๆ นั่งก้มมองจอคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นการเพิ่มแรงกระทำต่อกระดูกหลังมากที่สุด วิธีการนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง คือ ต้องนั่งหลังตรง วางเท้าให้ให้ราบไปกับพื้นทั้ง […]

หนุ่มสาวปวดหลังเรื้อรัง

อธิบดีกรมการแพทย์เผยกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงาน ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น ชี้หากมีอาการปวดหลังมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ให้รีบพบแพทย์ทันที นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพของร่างกาย การยกของหนัก การสูบบุหรี่ ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น จากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างกระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว แต่โดยปกติแล้วกระดูกงอก ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นในทุกช่วงอายุและในหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานช่วงอายุตั้งแต่ 25 – 50 ปี สาเหตุอาจมาจากการทำงานที่เคร่งเครียด ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอ่อนล้าและเสื่อมสภาพลงไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือเป็นอาการเด่นของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังและร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด […]

ประเภทของอาการปวดหลัง

"อาการปวดหลัง" มักเกิดจากการอักเสบของข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือหมอนรองกระดูกที่หลัง กิจกรรมการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกของขึ้นลงซ้ำๆกันนานๆ การก้ม และบิดเอี้ยวจะทำให้อาการแย่ลง การวางท่าทางไม่ถูกยังสามารถทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน ส่วนโรคปวดหลังที่พบได้น้อยมากอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาที่ร้ายแรงเช่นการติดเชื้อหรือปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ : ประเภทของอาการปวดหลัง : 1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน อาการปวดหลังที่แสดงอาการปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 6 สัปดาห์หรือน้อยกว่า แต่ไม่ได้ปวดร้าวลงไปตามแนวขาต่ำกว่าบริเวณเข่า เรียกว่า อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน กล้ามเนื้อเอวตึงเคล็ดหรือปวดหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดทรมาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการค่อยๆดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน หลังจากได้รับการรักษา 2. อาการปวดหลังร้าวลงขาแบบเฉียบพลัน อาการปวดร้าวลงขาแบบเฉียบพลัน เป็นอาการประเภทหนึ่งของโรคปวดหลังซึ่งจะแสดงอาการปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 6 สัปดาห์หรือน้อยกว่าและยังปวดร้าวลงไปยังบริเวณสะโพกและขาบริเวณต่ำกว่าเข่าอีกด้วย บางทีเรียกว่าโรครากประสาทหรือการปวดเสียวแปล๊บร้าวไปยังขา ระยะเวลาที่อาการจะทุเลาจะกินเวลานานกว่าอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน และการกระทบกระเทือนของเส้นประสาทบริเวณหลังมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงไปที่ขา 3. อาการปวดหลังและปวดร้าวลงขา แบบเรื้อรัง อาการปวดหลังและปวดร้าวลงขาที่ไม่ดีขึ้นและกินระยะเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ จัดเป็นอาการในกลุ่มโรคเรื้อรัง การรักษาเฉพาะทางถือเป็นสิ่งจำเป็น แพทย์ประจำตัวของคุณอาจจะแนะนำคุณไปยังแพทย์ผู้ที่ชำนาญเฉพาะทางด้านโรคที่เป็นต้นเหตุของปัญหาปวดหลังเรื้อรัง อาทิเช่น แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญการผ่าตัดกระดูกสันหลัง หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมด้านกระดูกและข้อ : สัญญาณเตือน : […]

10 วิธี ที่คุณทำร้ายกระดูกสันหลังของคุณเอง

กระดูกสันหลังมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ วันนี้เรามี 10 วิธีที่คุณอาจเคยทำและไม่รู้ว่ามันทำร้ายกระดูกสันหลังของคุณมาบอกกัน ลองดูนะคะ 1. การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด 2. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแล็คติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา 3. การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้ 4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะเป็นฐานในการรับน้ำหนักตัว 5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย 6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม การยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง 7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง 8. การยกของหนักแบบไม่ย่อเข่า […]

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis

ข้อแนะนำ . 1. โรคนี้ในระยะแรกจะมีอาการปวดเหมือนโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง , หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ       รากประสาทถูกกด, ข้อเสื่อม , แต่ถ้าพบเป็นเรื้อรังในชายหนุ่ม มักปวดตอนเช้าก่อนตื่นนอน และ       อาการทุเลาหลังบริหารร่างกาย ก็ควรคิดถึงโรคนี้  2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ระยะและความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละคน           ส่วนการรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถร่นระยะเวลาของโรคที่เป็น และไม่อาจป้องกันการติดแข็ง       ของข้อ       ในรายที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยคงสภาพ       การทำงานของร่างกาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้  3. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้      (1) […]