ปวดข้อ

สาเหตุของอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ??

ทำไมยกของแค่ลังนิดเดียว ทำไมจึง ปวดที่บริเวณหัวไหล่?หรือสะบัก ยกแขนไม่ค่อยขึ้น นั่งประชุมนานนิดเดียว ก้อหลังแข็ง ปวดหลังละ ขยับหรือเอี้ยวตัวไม่ได้ ขับรถแป้บเดียว ปวดเมื่อยต้นคอ คอแข็ง เอี้ยวคอไม่ได้ ปวดเมื่อยต้นแขน ปลายแขน ชาปลายนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า เวียนศีรษะบ่อยๆ ปวดเมื่อยๆที่เอว ปวดหลังเมื่อยๆ หรือตึงๆ หลัง เดินนานๆ แล้วขาไม่มีแรง นั่งคุกเข่าไม่ได้ นั่งแล้วลุกไม่ขึ้น เข่าอ่อน มีเสียงดังในเข่า เวลางอหรือเหยียดเข่า ปวดเข่า ปวดข้อศอก ปวดนิ้วมือ ตอนเช้าๆ กำมือไม่ค่อยได้ นิ้วมืองอค้าง เหยียดออกไม่สะดวก ปวดหลังร้าวไปสะโพกเป็นบางครั้ง ฯลฯ ซึ่งสาเหตุของอาการปวดจริงๆ แล้วมีมากมายมากกว่า 100 สาเหตุ แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้ เรามาเรียนรู้กันว่าทำไมเราจึงแก่ เอ้ย ทำไมเราจึงปวดและจะหาทางบรรเทาอย่าไร? ไม่ให้ปวดบ่อยๆ 1 “อิริยาบถและการใช้งาน” นั่นก็คือท่วงท่าการทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่ถูกต้อง เช่น คนที่นั่งทำงานในลักษณะก้มคออยู่นานๆจะปวดคอ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่ต้องนั่งก้มคอพิมพ์งานทั้งวัน ก็จะทำให้ปวดคอได้ หรือ “นอนตกหมอน” […]

เล่นกีฬาข้อเท้าพลิกปวดกล้ามเนื้อ ใช้เจลร้อนหรือเจลเย็นดี

คำตอบคือ ไม่ควรใช้ทั้งเจลร้อนและเจลเย็น เวลาออกกำัลังแล้วเกิดการบาดเจ็บ สิ่งที่ต้องทำคือการลดการอักเสบด้วยการใช้อุณหภูมิเย็นๆ น้ำเย็น หรือน้ำแข็งมาประคบ เพื่อลดการอักเสบ ลดเลือดที่จะไหล ลดเซลล์อักเสบที่จะมาตรงนั้น การไปนวดการบีบที่จุดที่บาดเจ็บ ตรงนั้นๆจะอักเสบมากขึ้น การใช้เจลมานวดที่บาดเจ็บ ก็จะทำให้อาการแย่ลง แล้วทำไมคนชอบทา ในยาเจลร้อน มักใส่สารกลุ่ม methyl salicylate ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง เกิดความรู้สึกร้อนที่ผิวหนัง ซึ่งความรู้สึกร้อนจากการระคายเคือง จะหลอกเส้นประสาทให้ส่งสัญญาณความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บไปสมองลดลง สำหรับยาเจลเย็น ก็ใช้สารในกลุ่ม methyl salicylate เหมือนกัน แต่มีการผสมสารในกลุ่ม menthol ที่ทำให้เกิดความรู้สึกเย็นที่ผิวหนัง กลไกการแก้ปวดก็เหมือนกันคือหลอกเส้นประสาทที่ผิวหนังและทำให้การส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปสมองลดลง แล้วจะเอาเจลเย็นมาทาแทนการประคบเย็นได้หรือไม่ เจลเย็น ไม่ได้ลดอุณหภูมิ(เพราะเย็นจากการหลอกเส้นประสาท) แถมมี methyl salicylateซึ่งทำให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น เสี่ยงต่อการอักเสบมากขึ้น ดังนั้นเมื่อบาดเจ็บ ไม่ควรนวด ไม่ควรทาเจลร้อนหรือเจลเย็น (ไม่ควรทา และไม่ควรนวด) เอาน้ำเย็นประคบดีต่อการบาดเจ็บกว่า ยกเว้นเจ็บมาก ทาได้เพื่อบรรเทาปวด แต่ชั่งน้ำหนักกับผลเสียที่อาจจะมี(เล็กน้อย) จากการที่เลือดมาเลี้ยงผิวหนังในจุดที่บาดเจ็บมากขึ้น แต่สำหรับกรณีปวดเมื่อยทั่วๆไป จะทา จะนวด จะแปะ ก็ทำได้ครับ ช่วยลดปวดได้ จะร้อนจะเย็น […]

8 สารอาหารบรรเทาปวดไขข้อ

8 สารอาหารบรรเทาปวดไขข้อ         มีข้อมูลว่าอาหารบางชนิดช่วยลดความเสี่ยงหรือการอักเสบของโรครูมาตอยด์ได้หากกินเป็นประจำ          กรดโอเมกา-3 มีผลต้านการอักเสบในร่างกาย โอเมกา-3 ที่ได้จากอาหารทะเลมีกรดอีพีเอ (EPA = eicsapentaanoic) และดีเอชเอ ซึ่งลดการอักเสบของไขข้อ ผลวิจัยพบว่าการเพิ่มกรดโอเมกา-3 ในอาหาร มีผลโดยตรงในการลดซี–รีแอคทีฟโปรตีนซึ่งกระตุ้นการอักเสบ อาหารที่มีกรดโอเมกา-3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล (แซลมอน ทูน่า เทร้าส์ แมคเคอเรล) วอลนัท เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แฟลกซ์สีด น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์สีด และน้ำมันคาโนลา น้ำมันปลา การวิจัยชี้ให้เห็นว่า น้ำมันปลาช่วยลดอาการปวดไขข้อและลดปริมาณการใช้ยาต้านการอักเสบได้ แต่อาจจะต้องกินติดติอกันประมาณ 3-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล มีคำเตือนว่าน้ำมันปลาอาจมีระดับวิตามินเอหรือสารปรอทสูงจึงควรปรึกษาแพทย์          สารฟลาโวนอยด์ ช่วยต้านเชื้อไวรัส ต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขข้อ […]

นวัตกรรมใหม่รักษาข้อเข่าเสื่อม ปลูกกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดผ่านกล้อง

ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอายุน้อยลงและมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ล่าสุดได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขึ้นมารองรับ นั่นคือ การปลูกถ่ายกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดโดยการผ่าตัดผ่านกล้องวีดิทัศน์ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมหาศาล เพราะนอกจากจะช่วยลดความเจ็บปวดแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นตามธรรมชาติ    โดย พ.ต.อ.นพ.ธนา ธุระเจน นายแพทย์ สัญญาบัตร 5 (สบ 5) กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยถึงการพัฒนานวัตกรรมของเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem Cell ) จากเลือดเพื่อการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ว่า โรงพยาบาลตำรวจได้ทำโครงการวิจัยพัฒนาการรักษาโรคกระดูกอ่อนของข้อเข่าที่มีการบาดเจ็บและข้อเสื่อมระยะต้นมาตั้งแต่ปี 2554 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ มูลนิธิเวชดุสิต Thai Stem Life Co.Ltd TRB chermedica Co.Ltd และ พล.ต.ท.นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงและมีข้อจำกัดหลายประการ จึงได้คิดค้นโดยการ ใช้เลือดของผู้ป่วยเอง โดยไม่ต้องเจาะจากไขกระดูกเชิงกรานที่สร้างความเจ็บปวด อีกทั้งยังได้จำนวนที่ไม่เพียงพอ และสามารถนำมาปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ได้ในครั้งเดียวเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ปกติแล้วกระดูกอ่อนของเรามีปัญหา คือเวลาเสื่อมแล้วต้องรอวันเสียอย่างเดียว ส่วนมากพบในนักกีฬาและผู้ที่นั่งงอเข่านาน ๆ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการพยายามปลูกกระดูกอ่อนเพื่อนำมาทดแทน […]

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis

ข้อแนะนำ . 1. โรคนี้ในระยะแรกจะมีอาการปวดเหมือนโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง , หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ       รากประสาทถูกกด, ข้อเสื่อม , แต่ถ้าพบเป็นเรื้อรังในชายหนุ่ม มักปวดตอนเช้าก่อนตื่นนอน และ       อาการทุเลาหลังบริหารร่างกาย ก็ควรคิดถึงโรคนี้  2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ระยะและความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละคน           ส่วนการรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถร่นระยะเวลาของโรคที่เป็น และไม่อาจป้องกันการติดแข็ง       ของข้อ       ในรายที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยคงสภาพ       การทำงานของร่างกาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้  3. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้      (1) […]