ข่าวสุขภาพ

รองเท้าส้นสูง ยิ่งสูง ยิ่งเสีย

ผลเสียที่กระทบต่อสุขภาพ และโครงสร้างของร่างกาย อันเกิดจากการสวมใสรองเท้าส้นสูง อาจมีมาเกินกว่าที่เราเคยทราบกันนะคะสาวๆ ไปดูจากภาพต่อไปนี้กันเลย ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ 1. ท่วงท่าการเดิน ด้วยรองเท้าส้นสูง ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อหัวเข่า ส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้หญิง 2. แรงกดรัดของสายรัดรองเท้าด้านหลัง อาจทำให้กระดูกส้นเท้าผิดรูป 3. เวลาเดินบนรองเท้าส้นสูง ร่างกายจะพยายามรักษา ท่าทางให้สมดุล ในการก้าวเท้า หากไม่ระมัดระวัง อาจทำให้ข้อเท้าพลิกและบาดเจ็บได้ 4. องศา ความสูงของรองเท้า ทำให้กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวาย มีการเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา จนเกิดอาการปวดน่อง และอาจเป็นตะคริวเพราะการยืนบนรองเท้าส้นสูงนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อน่องต้องทำงานหนักขึ้น 5. หน้ารองเท้า ที่แคบ แหลม จะบีบรัด กระดูกหน้าและหัวแม่เท้าทำให้หัวแม่เท้าวางตัวผิดรูป เช่น นิ้วหัวแม่เท้าเบี่ยง นิ้วเท้างอ กระดูกนิ้วคดงอตามความแคบ ข้อต่อนิ้วเท้ารับแรงกดมากเกินไป ส่งผลต่อรูปเท้าและมีผลต่อการเดินปกติ 6. การใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้ท่าทางเวลาเดิน หรือยืน ผิดปกติ เช่น การเดินเขย่ง เดินแบบย่อเข่า หลังแอ่น ลำตัวงอ และท่าทางที่ผิดธรรมชาตินี้ ก่อให้เกิดแรงกดของน้ำหนักลงมาที่ฝ่าเท้าด้านหน้ามากกว่าส้นเท้า จึงทำให้รู้สึกเมื่อยและปวดหลังตามมา […]

รู้จักการแก้ปัญหา เมื่อจิตใจสงบ

ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ความเครียดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ยังช่วยให้คนเราเกิดความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิตอีกด้วย แต่หากความเครียดที่มากจนเกินไปรวมถึงความเครียดที่สะสมไว้เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของคนเราได้เช่นกัน การพูดคุยเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยระบายความเครียดที่ทำได้ง่ายและยังนำไปสู่ความเข้าใจถึงสาเหตุ และอาจช่วยให้มองเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถคลายเครียดได้ด้วยการออกกำลังกาย วาดรูป เล่นดนตรี ทำสมาธิ สวดมนต์ รวมถึงการอาบน้ำและพักผ่อนให้สบายก็จะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้น ความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่สามารถผ่อนคลายได้ หากเราไม่มัวคิดวกวนถึงปัญหาที่เราประสบอยู่แต่ให้หาหนทางระบายออก เพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้น จากนั้นค่อยหาทางออกเมื่อจิตใจสงบลง แล้วเราจะมองเห็นทางแก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญาของตัวเรา     ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดยนฤภัค ฤธาทิพย์ กรมสุขภาพจิต

ขับขี่ไม่ใส่หมวกกันน๊อคอันตราย 9.5 เท่า

ผู้ใช้รถจักรยาน 2 ล้อและมอเตอร์ไซค์ คงจะระวังตัวขึ้นมาบ้าง ถ้าหากจะทราบว่าหากเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยจะได้รับอันตรายหนักและรุนแรงกว่าผู้สวมหมวกถึง 9.5 เท่า คณะวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนน และสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยโมนาชของอังกฤษ ได้ศึกษาเปรียบเทียบอันตรายของการเกิดอุบัติเหตุ ระหว่างผู้ที่ใช้หมวกกันน็อกกับศีรษะเปล่า พบว่าผู้ที่ไม่ใช้หมวกจะได้รับอันตรายหนักกว่า 9.5 เท่า ทั้งยังจะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ กะโหลก และสมองรุนแรงกว่ากันมาก “การค้นพบของเรายืนยันว่าการใช้หมวกที่ได้รับมาตรฐาน จะช่วยป้องกันอันตราย ไม่ว่าจะล้มในท่าไหนได้ดีกว่า” ดร.แอนดรูว์ แมคอินทอช ผู้ทดสอบ กล่าวว่า “เราพบว่าหมวกจะช่วยป้องกันไม่ให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากการชนอย่างแรงจนถึงแรงที่สุด เทียบได้เท่ากับการตกจากที่สูง 1.5 เมตร ด้วยความเร็วชั่วโมงละ 25 กม.”     ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  

เรียนรู้อยู่กับแดดให้เป็นประโยชน์

เดี๋ยวนี้มีแดดที่ไหนใครๆทั้งคุณผู้หญิงคุณผู้ชาย ก็เป็นต้องร้องโอดโอยที่นั้น ก็แสงแดดสมัยนี่น่ะมันร้อนแรงซะเหลือเกิ๊น รับเข้าผิวมากๆมีอันต้องเป็นมะเร็งผิวหนังอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ทว่าในความร้ายกาจนี้ยังมีข้อดีอยู่บ้างนะ เพราะร่างกายของคนเรายังต้องการรังสียูวีบีในแสงแดดเพื่อสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นลองลุกจากที่นอนออกมารับแสงอรุณกันในช่วงเช้า ประมาณ 13 นาที ดูบ้าง ทำทุกวันร่างกายก็แข็งแรงได้ด้วยล่ะ   ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก  

เครื่องดื่มแก้วโปรดเร่งข้อเข่าเสื่อม

คนเราเกิดมาหลีกหนีความเสื่อมของสภาพร่างกายไม่พ้น และหนึ่งความเสื่อมที่พบได้มากก็คือ ข้อเข่าเสื่อม อย่างเช่นที่อังกฤษมีผู้สูงอายุประสบปัญหาข้อเข่าเสื่อมและกระทบต่อการใช้ชีวิตถึง 6 ล้านคน แม้ปัญหาข้อเข่าเสื่อม คนส่วนใหญ่จะรู้กันดีว่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ น้ำหนักตัวมากเกินไป, อิริยาบถไม่เหมาะสม เช่น นั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ, ขาดแคลเซียม, หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ทว่านักวิจัยจากโรงพยาบาลบริกแฮมและสตรีในบอสตัน อเมริกา พบว่า พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก็เป็นอีกสาเหตุที่จะเพิ่มโอกาสให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แถมยังเร่งให้อาการเกิดเร็วขึ้นอีกต่างหาก ดร.บิง ลู หัวหน้าทีมวิจัย เล่าว่า ทีมวิจัยทำการศึกษาจากผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 2,149 ราย จากนั้นจะติดตามพัฒนาการของโรคจากการเอ็กซเรย์ในระยะ 12 เดือน 24 เดือน 36 เดือน และ 48 เดือน พร้อมกับสอบถามพฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะน้ำอัดลมด้วย ผลการติดตามพัฒนาการของโรคพบว่า ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 5 แก้วต่อสัปดาห์ กระดูกอ่อนภายในข้อเข่าของพวกเขาบางลงเฉลี่ย 0.59 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ดื่มน้ำอัดลม โดยกลุ่มหลังนี้กระดูกอ่อนในข้อเข่าบางลงเฉลี่ยแค่ 0.29 มิลลิเมตร ยิ่งไปกว่านั้น การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเพศชายที่มีน้ำหนักตัวปกติ […]

หัวไหล่ติด โรคฮิตคนเมือง

ไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคปัจจุบันคือ ความสะดวกสบาย เคลื่อนไหวน้อย และติดเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้คือสาเหตุของภาวะหัวไหล่ติดที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ภาวะหัวไหล่ติด คือภาวะที่เราไม่สามารถยกแขนขึ้นได้ทุกมุมองศาปกติ เช่น ยกมือชิดหู เอื้อมหยิบของสูง ๆ เป็นต้น โดยเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่ ทำให้ปวดบริเวณหัวไหล่เป็นเวลานาน เมื่ออาการปวดทุเลาลง แขนข้างที่ปวดจะไม่สามารถยกแขนได้เหมือนเดิม หากเคลื่อนไหวข้อไหล่จะปวดมากขึ้น จนผู้ป่วยไม่อยากจะขยับข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่มีการเคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะเกิดเยื่อพังผืดและหินปูนแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบหัวไหล่ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่อ่อนแรงและลีบลง วิภาพร สายศรี แพทย์อายุรเวทจากศูนย์รักษาไมเกรนและโรคปวดกล้ามเนื้อ ดอกเตอร์แคร์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไหล่ติดได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการหัวไหล่ติดมักจะมาจาก 3 ปัจจัยคือ อุบัติเหตุ, การไม่ได้ใช้หัวไหล่นานๆ และอายุที่มากขึ้น กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหัวไหล่ติด แพทย์อายุรเวทชี้คือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบว่ามีโอกาสเกิดภาวะไหล่ติดสูงกว่าคนปกติ 2-4 เท่า ที่สำคัญ วิถีชีวิตปัจจุบันก็ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดหัวไหล่ติด ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบาย ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ ที่ไม่ต้องยืดแขนหรือเอื้อมมือหยิบของไกลๆ “ภาวะไหล่ติดอาจใช้เวลาสะสมอาการนานถึง 2-3 ปีแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะปวดประมาณ 1-4 สัปดาห์ […]

เสริมร่างกายด้วยแคลเซียม อาจเสี่ยงโรค

สถานการแพทย์สิ่งแวดล้อมของสวีเดน ออกเตือนว่า ผู้ชายที่บำรุงร่างกายด้วยการกินแคลเซียม ทำให้ตนเองต้องตกอยู่ใต้อันตรายของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าปกติขึ้นอีกเกือบร้อยละ 20 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูซานนา ลาร์สสัน เปิดเผยว่า “ได้หลักฐานเพิ่มเติมส่อว่า การกินแคลเซียมมากเกินไป จะยิ่งทำให้เสี่ยงกับโรคยิ่งขึ้น” นักวิจัยของสถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ ได้รวบรวมข้อมูลจากชายหญิง อายุระหว่าง 50-71 ปี จำนวน 388,000 คน ได้ผลว่า ผู้ชายที่กินแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม จะเสี่ยงกับโรคหัวใจมากขึ้นร้อยละ 20 ทั้งยังจะเสี่ยงกับการเสียชีวิตด้วยโรคลมอัมพาตมากขึ้นอีกร้อยละ 14 ด้วย อย่างไรก็ตาม  ผลการค้นพบนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสตรี และการได้แคลเซียมจากการกินอาหาร  ก็ไม่เป็นโทษภัยแต่อย่างใด ที่มา : http://www.thaihealth.or.th 

5 ความเชื่อเรื่องสุขภาพที่ ‘ไม่จริง’

นม ที่สุดของเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย        ยกเครื่องความเชื่อเกี่ยวกับนมครั้งใหญ่ นม ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างที่เข้าใจกันมา มิหนำซ้ำอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาอีก คือนมไม่ได้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด มีอาหารประเภทอื่นที่มีแคลเซียมสูงกว่านม เช่น งาดำ, ปลาเล็กปลาน้อย ฯลฯ ยังพบว่าโปรตีนในนม เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อาทิ ภูมิแพ้, โรคอ้วน, โรคไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็งต่างๆ               น้ำหวาน-ของหวาน ทำให้กระชุ่มกระชวย        อาการสดชื่นหลังทานหวานจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ การดื่มของหวานเวลาร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้วยังส่งผลระยะยาวคือยิ่งซ้ำเติมให้อ่อนเพลียง่าย เรี่ยวแรงโรยรายิ่งขึ้นไปอีก ยังส่งผลให้หิวบ่อยกินบ่อยอีกด้วย               กินเจ เพื่อสุขภาพ        เชื่อกันว่า การกินผัก กินผลไม้ กินมังสวิรัติ นั้นส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่กลับมาพิจารณาอีกที อาหารเจกลับมีการปรุงแต่งรสชาติ มีการดัดแปลงรูปแบบกันมากขึ้นจนแทบไม่หลงเหลือคุณค่าทางธรรมชาติ กลายเป็นตัวปัญหาส่งผลต่อสุขภาพ      […]

“เอสแอลอี” “ลูปัส” โรคแพ้ภูมิตนเอง

โรคเอสแอลอี ย่อมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Systemic Lupus Erythematosus หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ลูปัส (Lupus) ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น หมอมักจะบอกผู้ป่วยให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “โรคแพ้ภูมิตนเอง” เนื่องจากกลไกการเกิดโรคเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเรามาทำลายตัวเราเอง โรคเอสแอลอี เป็นโรคเรื้อรังแต่รักษาได้ เป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย สามารถเกิดความผิดปกติได้ทุกระบบ ทุกอวัยวะในร่างกายตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า อีกทั้งยังมีความหลากหลายของความรุนแรงของโรคผู้ป่วยแต่ละราย อาจมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกันมาก แม้กระทั่งในผู้ป่วยรายเดียวกันก็มีความหลากหลายของอาการและความรุนแรง ส่วนการดำเนินโรคมีระยะโรคกำเริบและมีระยะโรคสงบ การกำเริบของโรคแต่ละครั้งอาจมีอาการและความรุนแรงแตกต่างกัน เป้าหมายของการรักษาโรคเอสแอลอีคือ ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะโรคสงบให้นานที่สุดโดยที่ใช้ยาน้อยที่สุด โรคเอสแอลอี หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป ส่งผลให้มีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายร่างกายตัวเอง เปรียบเสมือนทหารทำการก่อกบฏ ส่วนโรคภูมิแพ้นั้นเกิดจากมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่ไม่เป็นอันตราย เปรียบเสมือนทหารทำงานเกินหน้าที่แทนที่จะต่อต้านศัตรูเท่านั้นยังไปทำลายเพื่อนบ้านที่ดี เช่น การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่ออาหารจำพวกไข่ นม อาหารทะเล ทำให้เกิดอาการแพ้อาหาร หรือการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่ออากาศ จำพวกไรฝุ่น แมลงสาบ เกสรต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการแพ้อากาศ เป็นต้น ทั้งสองโรคเหมือนกันคือต่างก็เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปต่างกันคือ โรคภูมิแพ้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินต่อสิ่งแปลกปลอมที่ไม่อันตราย ทำให้เราเกิดอาการแพ้สารเหล่านั้น ส่วนโรคแพ้ภูมิระบบภูมิคุ้มกันทำงานเกินต่อร่างกายตนเอง จึงมีอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ภายในตัว หลาย […]

เตือนกินกลูโคซามีน ระวังตา(อาจ)บอด โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

“กลูโคซามีน” เป็นทั้ง “ยา” และ “อาหารเสริม” สำหรับประชาชนในประเทศไทย โดยใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเสื่อม หรือมีแนวโน้มจะเป็นในอีกไม่ช้า  ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้ว่าไม่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างข้อหรือกระดูกอ่อนใดๆ ทั้งสิ้น แต่มีผู้ป่วยบางรายใช้แล้วรู้สึกดี โดยไม่มีใครทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์แน่นอนในการบรรเทาอาการปวด มีรายงานทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นพบว่า กลูโคซามีนไปกระตุ้นสารต้านการอักเสบ นัยว่าทำให้ปวดน้อยลง แต่เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์จริงๆ มีค่อนข้างน้อยมาก คำแนะนำของสมาคมโรคข้อของสหรัฐอเมริกาจึงไม่แนะนำให้ใช้ แต่ถ้าผู้ป่วยยืนยันจะใช้ก็ควรให้ลองดูประมาณ 1-2 เดือน หากไม่เห็นผลก็ให้เลิกไป ในประเทศไทยเพียงกลูโคซามีนตัวเดียว ก่อเหตุประหนึ่งเป็น “ยาวิเศษ” ที่คนไข้ต้องได้รับและควรต้องเบิกได้ โดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร ไต ไม่ก่อให้เกิดเส้นเลือดในหัวใจหรือในสมองตีบตันแบบยาแก้ปวดทั่วไป (ชนิดไม่ว่าถูกหรือแพง) เช่น Diclofenac (Voltaren) Ibuprofen (Brufen) และตระกูล Coxibs ทั้งหลาย เช่น Celecoxib (Celebrex) Etoricoxib (Areoxia) และเมื่อกินกลูโคซามีน ถึงไม่ได้ผลก็ไม่เป็นไร อย่างไรก็อุ่นใจเพราะได้กินยา เป็นกำลังใจ หรือที่เรียกว่า Placebo Effect จนมาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 […]

1 2 3 4