ค่า ESR คืออะไร ค่า CRP คืออะไร และ ESR กับ CRP ต่างกันอย่างไร

ESR

ขอขอบคุณรูปประกอบจาก  healthtap.com | Picture Credit From : healthtap.com

ผู้ป่วยเอเอสแบบเรา หรือ ผู้ป่วยโรคข้ออื่นๆ ในกลุ่มข้ออักเสบ Arthritis ในการไปพบแพทย์ทุกครั้งจะมีการตรวจเฃือดเพื่อดูอาการเป็นระยะไป และในการตรวจเลือดแต่ละครั้งจะมีศัะท์เฉพาะเช่น ตรวจค่า ESR ตรวจค่า CRP วันนี้ผมขอรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ ESR และ CRP

ค่า ESR คืออะไร

ESR (Erythrocyte sedimentation rate)

เมื่อมีการอักเสบในร่างกาย ตับจะเกิดปฏิกิริยาโดยการสร้างสารโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาในเลือดมากขึ้น สารโปรตีนนี้จะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดการเกาะติดกันได้ง่าย หากเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีการอักเสบใส่หลอดที่มีสารป้องกันการแข็งตัว แล้วตั้งทิ้งไว้สักพัก ก็จะเห็นว่ามีการแยกชั้นของส่วนที่เป็นเลือดและส่วนที่เป็นน้ำเหลืองในเวลา ไม่นาน ทั้งนี้เพราะสารโปรตีนนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดเกาะติดกัน แล้วก็พากันไปตกตะกอนอยู่ที่ก้นหลอดนั่นเอง ค่าของ ESR ก็คือระยะทางเป็นมิลลิเมตรที่เม็ดเลือดแดงตกตะกอนลงมาอยู่ที่ก้นหลอดแก้วใน เวลา 1 ชั่วโมง ยิ่งค่าของ ESR สูงก็ยิ่งแสดงว่ามีการอักเสบมาก จากหลักการดังกล่าว ESR จึงใช้วัดสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในเลือด โดยเฉพาะ Plasma ซึ่งอาจจะมีสารบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เลือดตกตะกอนเร็วขึ้น สารที่ว่านั้น หลัก ๆ คือ Fibrinogen และ Acute phase reactant อื่น ๆ (รวม Immunoglobulin ด้วย) ซึ่งสารพวกนี้เกิดขึ้นมาจาก กระบวนการอักเสบนั่นเองESR จึงใช้วัดภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้อย่างคร่าวๆ แพทย์ มักใช้ค่า ESR ในการติดตามผลการรักษา ว่าดีขึ้นหรือไม่ ค่า ESR มีการแปรผันมาก ค่าจะเปลี่ยนแปรไปตามอายุ เพศ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัวที่เป็นอยู่

อ้างอิงจาก  http://www.absolute-health.org/thai/article-th-040.htm

ค่า CRP คืออะไร

CRP (C-Reactive Protein) เป็นโปรตีนตอบสนองในระยะเฉียบพลัน (acute phase reactant protein) อย่างหนึ่ง ซึ่งสร้างจากเซลล์ตับ

สารชนิดนี้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคเส้นเลือดแข็ง ตัว(atherosclerosis) ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจกำเริบ และการมีอาการของโรคหัวใจครั้งแรก CRP จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะอักเสบ หรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อคล้ายกับการตรวจอัตราการตกของเม็ดเลือดแดงหรือ อีเอสอาร์ ESR โดย CRP จะเพิ่มอย่างรวดเร็วภายใน 6 – 10 ชั่วโมง และขึ้นสูงสุดใน 24 – 72 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติใน 1 – 2 สัปดาห์ การตรวจ CRP มีข้อดีกว่า ESR คือ CRP จะให้ผลบวกก่อน ESR และผลกลับมาปกติขณะที่ ESR ยังสูงอยู่ และไม่เปลี่ยนแปลงในภาวะซีด ระดับโกลบูลินในเลือดสูง (hyperglobulinemia) การตั้งครรภ์ และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง ขณะที่ ESR เปลี่ยนแปลงในภาวะดังกล่าว วิธีเดิมที่ใช้กันทั่วไป ในห้อง LAB จะวัดค่า serum CRP ได้ในช่วง 10-1000mg/L แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการวัดแบบความไวสูง หรือที่เรียกว่า hs-CRP (high sensitivity CRP) ซึ่งสามารถวัดค่า CRPได้ต่ำถึง 0.3mg/L ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบ ค่า hs-CRP ควรจะต่ำกว่า 1.0 จึงจะถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ หากค่าอยู่ที่ 1-3 จะมีความเสี่ยงปานกลาง และถ้าค่า hs-CRP สูงกว่า 3 ถือเป็นความเสี่ยงสูง

อ้างอิงจาก http://www.absolute-health.org/thai/article-th-040.htm

ESR กับ CRP ต่างกันอย่างไร

ทั้งสองเป็นการตรวจค่าอักเสบของร่างการทั้งคู่ บางคนอักเสบน้อยๆ อาจจะไม่ปวด แต่มีค่าอักเสบขึ้นได้ หลายๆคนปวด แต่esrไม่ขึ้น ให้ลองตรวจ crp เพราะจะขึ้นตามความรุนแรงของโรคแม่นกว่า esr ในการตรวจ crp บางโรงพยาบาลทำไม่ได้ หรือรอผลนาน. ส่วนใหญ่เลยตรวจ esr เพราะทำได้ทุกที่ผลตรวจแล้วรอได้เลย

สรุปแบบง่ายๆ

CRP = C-reactive protein  เป็นการตรวจดูค่าการอักเสบในร่างกาย

ESR = Erythrocyte Sedimentation Rate เป็นการตรวจอัตราการตกของเม็ดเลือดแดง เพื่อดูค่าการอักเสบในร่างกาย

การตรวจ CRP มีความไว และความจำเพาะสูงกว่า ESR แต่มีราคาแพงกว่า และอาจจะตรวจไม่ได้ทุกโรงพยาบาล

การตรวจ ESR ค่า ESR มีการแปรผันมาก ค่าจะเปลี่ยนแปรไปตามอายุ เพศ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ในการตรวจราคาถูกกว่าและสามารถทำได้ทุกที่เกือบทุกโรงพยาบาล

อ้างอิงจาก http://siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ra/ra_investigate.html#.UljOGlNmz08

อ้างอิงจาก http://www.thai-sle.com/ebook-thai_sle/9-1a-q4/10-370.html