ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเอเอส

โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด

โรค AS คืออะไร?

กระดูกสันหลังเป็นแกนกลางของร่างกายประกอบด้วยกระดูกจำนวน 24 ชิ้นเชื่อมเป็นข้อต่อ แยกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนคอ, อก และเอว นอกจากนั้นกระดูกสันหลังส่วนเอวยังเชื่อมกับกระดูกเชิงกรานเป็นข้อต่อ โดยกระดูกสันหลังมีหน้าที่ป้องกันไขสันหลังซึ่งเป็นทางเดินของกระแสประสาทมายังอวัยวะส่วนอื่นให้พร้อมทำหน้าที่ และเป็นตัวรับส่งแรงในการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่สูงและต่ำกว่า เปรียบเสมือนส่วนลำต้นไม้ซึ่งมีท่อน้ำเลี้ยง รับอาหารมาจากส่วนรากส่งผ่านไปยังส่วนกิ่งก้านใบด้านบน ในทางกลับกันเมื่อส่วนบนมีการสังเคราะห์แสงจะส่งผ่านผลผลิตที่ได้ไปยังรากด้วย

กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวหลายทิศทางได้แก่ ก้ม – เงย, เอียงซ้าย – ขวา และหมุนซ้าย – ขวา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน หลังที่ดีจำเป็นต้องมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นที่ดีตามด้วย หากหลังมีการเคลื่อนไหวลดลง หรือแข็ง เคลื่อนไหวไม่ได้ จะเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตอย่างมาก โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดมีผลให้กระดูกสันหลังที่อักเสบเชื่อมติดกัน ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวได้ลดลง หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างถาวร

โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด หรือ Ankylosing Spondylitis มีการค้นพบตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ แต่มีการค้นคว้าวิจัยมากขึ้นเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว หรืออาจเรียกว่า โรค Bekhterev หรือ โรค Marie – Strümpell เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับยีน HLA – B27 พบได้ทั้งชาวเอเชียและยุโรปแต่ชาวเอเชียพบได้น้อยกว่า ปัจจุบันยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ผลของโรคทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตัวข้อต่อกระดูกสันหลัง และข้อต่ออื่น(ข้อเข่า, ข้อตะโพก, ข้อไหล่, ซี่โครง) และมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ, เอ็นยึดกระดูก ผลจากการอักเสบทำให้ร่างกายสร้างกระดูกมาแทนที่ส่วนที่อักเสบเกิดการเชื่อมติดกันของกระดูก หากมองจากภาพ X – ray จะเห็นกระดูกสันหลังเชื่อมติดกันเป็นปล้องไม้ไผ่ นอกจากนี้แล้วตัวโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบของตา, หัวใจ, ปอด, ไต และทางเดินอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่การอักเสบมักเริ่มต้นที่ข้อต่อเชื่อมกระดูกสันหลังกับเชิงกรานกระจายขึ้นไปตลอดแนวกลางกระดูกสันหลัง

ผลจากการเชื่อมติดกันของกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้อ มีผลให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ลดลง จะเห็นท่าทางการเดินที่แข็งไม่เป็นธรรมชาติ, เวลามองด้านข้างต้องหันทั้งตัว, ยืนไหล่ห่องอตัว, หน้ายื่นคอยื่น, ยืนก้มแตะปลายเท้าได้น้อย เป็นต้น หากกระทบกับข้อต่อซี่โครงทำให้ปอดขยายตัวได้ลดลง ส่งผลต่อการหายใจ ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย นอกจากการเคลื่อนไหวที่ลดลงแล้ว อาการที่สำคัญคือปวดบริเวณหลังและก้น หรือตามข้อที่มีปัญหาโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาการค่อยเป็นค่อยไป อาการจะแย่ลงหากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหว ซึ่งต่างจากอาการปวดหลังธรรมดา ซึ่งมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวผิดท่า เช่น เอี้ยวบิดตัว, ก้มหลังเป็นเวลานาน เป็นต้น และอาการจะดีขึ้นหากได้พัก แต่จะแย่ลงหากมีการเคลื่อนไหวซ้ำ

อาการสำคัญคืออะไร?

โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบในเด็กข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็นมีอาการดังนี้

ข้ออักเสบ

อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ข้อบวม ปวดและขยับข้อได้ลำบาก ส่วนมากจะมีข้ออักเสบ 5 ข้อได้ ข้อที่มักอักเสบคือ ข้อเข่า ข้อเท้า ฝ่าเท้าและข้อสะโพก ส่วนน้อยจะมีการอักเสบของข้อนิ้วเท้า

ผู้ป่วยบางรายจะมีข้ออักเสบที่แขนได้ โดยเฉพาะข้อไหล่

การอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็น

การอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็นพบบ่อยเป็นอันดับรองลงมา มักเกิดที่จุดเกาะของเส้นเอ็นบริเวณส้นเท้า ฝ่าเท้าและรอบลูกสะบ้าบริเวณเข่า ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณดังกล่าว ในรายที่มีการอักเสบเรื้อรังอาจเกิดปุ่มกระดูกยื่นออกมา (เกิดจากกระดูกที่โตเร็ว) ทำให้เกิดการเจ็บบริเวณส้นเท้าในผู้ป่วยหลายราย

กระดูกเชิงกรานอักเสบ

การอักเสบของกระดูกเชิงกรานซึ่งอยู่บริเวณสะโพกทางด้านหลัง พบน้อยในผู้ป่วยเด็ก มักเกิดขึ้นหลังจากเริ่มเป็นโรคประมาณ 5-10 ปี

อาการสำคัญคือปวดก้นเป็นระยะๆ

ปวดหลัง; กระดูกสันหลังอักเสบ

อาการนี้ไม่ค่อยพบในช่วงแรกของโรค แต่อาจเกิดขึ้นได้หากเป็นโรคนี้มานานพอ อาการหลักคือปวดหลังในเวลากลางคืน ข้อติดตอนเช้าและขยับได้ลำบาก ส่วนมากมักปวดหลังและคอ น้อยรายที่จะมีอาการปวดที่บริเวณอก ในรายที่เป็นเรื้อรังอาจมีการงอกของกระดูก และเกิดการเชื่อมติดกันของกระดูกสันหลังซึ่งจะพบหลายปีหลังจากเกิดโรคในผู้ป่วยไม่กี่ราย ดังนั้นเกือบจะไม่พบลักษณะนี้ในเด็ก

อาการทางตา

ยูเวียอักเสบฉับพลันเป็นการอักเสบของม่านตา ถึงแม้จะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อย แต่ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 จะเกิดอย่างน้อยหนึ่งครั้งหรืออาจเกิดหลายครั้งในช่วงระยะเวลาที่เป็นโรคข้อ อาการแสดง คือ ปวดตา ตาแดง มองไม่ชัดเป็นเวลาหลายสัปดาห์

มักเกิดอาการทีละข้างและสามารถเป็นซ้ำได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากจักษุแพทย์ (หมอตา) ทันที ยูเวียอักเสบชนิดนี้แตกต่างจากที่พบในเด็กผู้หญิงที่เป็นโรคข้ออักเสบชนิดข้อน้อยและมีแอนติบอดี้ช นิดแอนตินิวเคลียร์เป็นบวก

อาการทางผิวหนัง

ผู้ป่วยส่วนน้อยมีผื่นสะเก็ดเงินซึ่งเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผื่นจะมีลักษณะเป็นปื้น ขุย มักเป็นบริเวณศอกและเข่า

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่ได้เรียกว่าเป็นข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็น แต่จะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในกลุ่มข้ออักเสบสะเก็ดเงิน อาการทางผิวหนังอาจเกิดก่อนข้ออักเสบได้หลายปี แต่ในทางกลับกันอาการข้ออักเสบก็สามารถเกิดนำการมีผื่นสะเก็ดเงินได้หลายปีเช่นกัน

อาการทางลำไส้

ผู้ป่วยเด็กบางรายที่มีภาวะทางเดินอาหารอักเสบ เช่น โรคโครห์นและสำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดข้อและกระดูกสันหลังอักเสบตามมาภายหลัง แต่ข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะขอ งเส้นเอ็นไม่ได้รวมการอักเสบของทางเดินอาหารร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดงทางลำไส้ชัดเจน และมีอาการทางข้อเด่นกว่าซึ่งต้องการการรักษาที่จำเพาะ

อาการของโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบในเด็ก-ข้ออักเสบชนิดที่มีบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็นอักเสบเริ่ มแรกแตกต่างจากโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบในผู้ใหญ่ แต่ในหลายการศึกษาเชื่อว่าสองโรคนี้เป็นโรคในกลุ่มเดียวกัน

เด็กมักมีข้อกระดูกส่วนแขนขาอักเสบมากกว่าในผู้ใหญ่ ส่วนผู้ใหญ่มักเป็นที่ข้อกระดูกสันหลัง (กระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน) มากกว่าเด็ก แต่ความรุนแรงของโรคในเด็กจะมากกว่าผู้ใหญ่

การรักษาหลักคือการใช้ยาร่วมกับกายภาพบำบัด ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพการทำงานของข้อและป้องกันการพิการ โดยที่การใช้ยานั้นขึ้นกับการควบคุมหรืออนุมัติให้ใช้ยาของแต่ละประเทศ

ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยากลุ่มนี้ช่วยบรรเทาอาการอักเสบและลดไข้

บรรเทาอาการหมายถึงควบคุมอาการของโรคที่เกิดจากการอักเสบ ยาตัวที่ใช้บ่อยในเด็กคือ นาพรอกเซน ไดโคลฟีแนค และไอบูโปรเฟน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะสามารถทนผลข้างเคียงจากยาได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือการระคายเคืองกระเพาะอาหารซึ่งพบน้อยในเด็ก การเลือกใช้ยา NSAIDs ควรเลือกใช้เพียงตัวเดียว แต่สามารถเปลี่ยนเป็นยา NSAID ตัวอื่นได้หากไม่ตอบสนองต่อยาตัวแรกหรือมีผลข้างเคียง

คอร์ติโคสเตียรอยด์

มีบทบาทในการรักษาผู้มีอาการรุนแรงในช่วงสั้นๆ ยาหยอดเฉพาะที่คอร์ติโคสเตียรอยด์ (ยาหยอดตา)ใช้ในการรักษายูเวียอักเสบฉับพลัน

กรณีที่เป็นรุนแรงอาจต้องฉีดยาเข้าลูกตาหรือใช้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือด อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึ งประสิทธิภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยเด็กโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบในเด็กข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็นมากนัก การนำมาใช้ในผู้ป่วยบางรายเป็นเพียงความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาอื่น (ยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค)
ซัลฟาซาลาซีน

ยานี้นำมาใช้เมื่อมีการอักเสบของข้อส่วนแขนขาและให้การรักษาด้วยยากลุ่ม NSAIDs และ/หรือ การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่อย่างเหมาะสมแล้วแต่ยังควบคุมอาการไม่ได้ มักให้ยาซัลฟาซาลาซีนควบคู่กับการให้ยากลุ่ม NSAID (ซึ่งต้องให้อย่างต่อเนื่อง) และผลของยามักออกฤทธิ์หลังจากเริ่มให้ยาไปแล้วหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของยาซัลฟาซาลาซีนในเด็กยังมีอยู่อย่างจำกัด เช่นเดียวกับยาชนิดอื่นๆ ได้แก่ เมโธเทรกเซต เลฟลูโนไมด์ และยาต้านมาลาเรียแม้ว่าจะมีการใช้กันอย่าง แพร่หลายในโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ/ข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็นในเด็ก แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนถึงประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้

สารชีวภาพ

แนะนำให้ใช้สารต้านทิวเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์ (anti-tumor necrosis factor หรือ anti-TNF) ในช่วงแรกของโรค เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีในการรักษาอาการอักเสบ มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาเหล่านี้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การศึกษานี้ยอมรับในองค์กรสาธารณสุขและรอที่จะรับรองการใช้ในโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบในเด็กข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็น ซึ่งในบางประเทศในยุโรปได้รับการอนุมัติให้ใช้ยาชนิดนี้ในเด็กแล้ว

การฉีดยาเข้าข้อ

ใช้เมื่อมีอาการเพียงไม่กี่ข้อ และหากมีการติดยึดของข้อแล้วซึ่งจะนำไปสู่ความพิการ โดยทั่วไปจะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ยาว โดยมักให้รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลและวางยาสลบเพื่อทำหัตถการนี้

การผ่าตัดกระดูก

ข้อบ่งชี้ของการเปลี่ยนข้อคือเมื่อข้อถูกทำลายอย่างรุนแรง โดยเฉพาะข้อสะโพก แต่ปัจจุบันการรักษาด้วยยาพัฒนาไปมาก ดังนั้นการผ่าตัดจึงลดลง

กายภาพบำบัด

เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา โดยควรเริ่มแต่เนิ่นๆและทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและป้องกันข้อพิการผิดรูป นอกจากนี้หากมีอาการเด่นที่กระดูกสันหลังของร่างกาย จะต้องฝึกการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังและฝึกการหายใจอีกด้วย

การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการเจ็บปวด ลดการใช้ยา ลดความรุนแรงรวมทั้ง

ป้องกันความพิการ และทำาให้ผู้ป่วยสามารถดำาเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด

1. ท่าทาง
ผู้ป่วยควรให้ความสำาคัญกับอิริยาบถต่างๆของร่างกายในชีวิตประจำาวันเป็น พิเศษ เนื่องจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมสามารถส่งผลกระทบถึงรูปทรงกระดูกสันหลังของผู้ป่วยได้

1.1 การเลือกเก้าอี้นั่ง ทั้งที่บ้านหรือที่ทำางาน เบาะนั่งจะต้องแข็งพอดี ไม่นุ่มมาก จนเบาะยุบลงเวลานั่ง พนักเก้าอี้ควรเอียงเล็กน้อยเพื่อรองรับการพิงของหลัง เลือกเก้าอี้ที่มีเท้า แขนเพื่อให้สามารถวางแขนซึ่งจะช่วยผ่อนนำ้าหนักที่กดลงบนกระดูกสันหลัง ความลึกของเบาะนั่ง จะต้องพอดีกับความยาวต้นขา เพื่อให้หลังและสะโพกชิดพอดีกับพนักเก้าอี้ โดยที่ขอบเก้าอี้อยู่ พอดีกับรอยพับของเข่า และทำาให้เข่างอตั้งฉากกับพื้นได้พอดี เก้าอี้จะต้องไม่สูงเกินไปจนขาและ เท้าลอยจากพื้น ไม่ควรนั่งเก้าอี้นวม (โซฟา) ที่เตี้ยเกินไปเพราะจะทำาให้กระดูกสันหลังต้องงอเสีย รูปทรงและทำให้ลุกขึ้นลำาบาก

1.2 การนั่ง ต้องตรวจสอบท่านั่งของตัวเองบ่อยๆ เหยียดหลังนั่งให้ตัวตรงและยืดไหล่เป็นพักๆ ไม่ควรนั่งต่อเนื่องนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืนหรือเดินไปเดินมาเพื่อยืดข้อต่อบ้าง

1.3 การนอน ถ้าใช้เป็นเตียงสปริงจะต้องหาแผ่นกระดานแข็งปูด้านล่างไว้ไม่ให้เตียงยวบลงเวลานอน ฟูกที่นอนจะต้องแน่นกำาลังดี ไม่ยุบหรือนุ่มเกินไป การหนุนหมอน ให้เลือกหมอนที่รองรับต้นคอ หรือเลือกใช้หมอนที่เปลี่ยนรูปไปตามสรีระของศีรษะได้ดี ไม่หนุน หมอนสูง

1.4 น้ำอุ่น การอาบน้ำอุ่น ช่วยลดอาการฝืดแข็งของข้อกระดูกสันหลังได้ดี ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกสบายถ้าได้อาบหรือแช่น้ำอุ่นตอนเช้าและตอนเย็น ระหว่างแช่น้ำอุ่นถ้าได้บริหาร ร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อไปพร้อมๆกันจะทำาให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น

1.5 การใช้กายอุปกรณ์หรือผ้ารัด หลีกเลี่ยงการใช้สนับเข่าหรือเฝือกอ่อนรัด ช่วงเอว (lumbar support) เพราะจะทำาให้ข้อและหลังตึงแข็งยิ่งขึ้น และเกิดข้อติดตามมาใน ภายหลัง

2. อาหาร
พยายามควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ระวังไม่ให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน ไม่จำาเป็นต้องงดหรือรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ ให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่อาหารต้องสุกและสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินอาหารซึ่งจะทำาให้โรคกำเริบขึ้นได้

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สามารถดื่มได้เล็กน้อยตามความจำาเป็นทางสังคม แต่ถ้าไม่จำาเป็นควรงดโดยเฉพาะรายที่ต้องกินยาต้านการอักเสบหรือ DMARDs เพราะจะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและผลข้างเคียงของยาต่อตับ

4. การสูบบุหรี่
งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำาให้ผู้ป่วยเกิดอาการ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และการทำางานของปอดเลวลง

5. การรักษาโดยการจัดกระดูก
ไม่ควรทำ เพราะอาจทำาให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง รุนแรงขึ้นได้ เช่น กระดูกหัก และข้อหลุด เป็นต้น

6. การรักษาโดยใช้การแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
เช่น การฝังเข็ม สุคนธบำาบัด (aromatherapy) การกดจุดที่ฝ่าเท้า (reflexology) และ การปรับสภาพร่างกาย (homeopathy) ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนมากนัก ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกผ่อนคลายและมีอาการ ดีขึ้นจากการบำาบัด อย่างไรก็ตามจะต้องแน่ใจว่าผู้ให้การบำาบัดนั้นมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อ สันหลังอักเสบติดยึดเป็นอย่างดี

7. กายภาพบำบัด
มีบทบาทสำาคัญต่อต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้มากที่สุด ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้ถึงอิริยาบถที่เหมาะสมเพื่อรักษารูปทรงที่ดีของกระดูกสันหลังไว้ การบริหารข้อต่อ โดยเฉพาะข้อไหล่และสะโพกจะทำาให้ผู้ป่วยสามารถใช้ข้อทำางานงานได้ตามปกติ ควรศึกษาท่า บริหารร่างกายและกล้ามเนื้อเพื่อนำาไปฝึกทำาและปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้าน (ดูรายละเอียดเรื่องการ บริหารร่างกาย)

8. การดำเนินชีวิตประจำวัน

8.1 ทำงานประจำาตามปกติ แต่ต้องเอาใจใส่กับท่าทางและอิริยาบถที่จะส่งผลต่อ

รูปทรงของกระดูกสันหลัง ควรขยับเก้าอี้ให้ชิดโต๊ะทำางาน เพื่อจะได้นั่งตัวตรงโดยไม่ต้องโน้มตัว มาด้านหน้ามากนัก ใช้หมอนเล็กๆรองหลังและหนุนก้นเพื่อให้นั่งสบาย ไม่ควรยืนหรือนั่งอยู่ใน ท่าเดียวเป็นระยะเวลานานๆ ควรพักยืดเส้นยืดสายและขยับข้อเป็นครั้งคราว

8.2 การออกกำาลังกายหรือเล่นกีฬา สามารถทำาได้ การออกกำาลังกายที่ดีที่สุด

สำหรับโรคนี้คือการว่ายน้ำ เพราะทำาให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าเหยียดตรง ช่วยทำาให้กล้ามเนื้อ ทุกส่วนได้ออกแรงโดยไม่มีแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลัง ให้ฝึกว่ายน้ำหลายๆท่าผสมกัน ถ้า ว่ายน้ำไม่แข็งจะเกาะโฟมกระทุ่มน้ำก็ได้ การดำาน้ำตื้น (skin diving) โดยสวมหน้ากากดำาน้ำและ หายใจผ่านท่ออากาศ จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อทรวงอก ทำาให้การหายใจได้ดีขึ้น ไม่ควรออก กำาลังกายที่มีการปะทะหรือแข่งขัน เช่น รักบี้ มวย บาสเกตบอล เทนนิส หรือเต้นแอโรบิกชนิด ที่ต้องเหวี่ยงหรือกระโดด เพราะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ถ้าต้องการวิ่งออกกำาลังกายควร สวมรองเท้าที่มีเบาะรองรับส้นเท้าเพื่อลดแรงกระแทก

8.3 การขับรถยนต์ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าต้องขับรถติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง

อาจทำาให้หลังติดแข็ง ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ ออกมาเดินยืดเส้นยืดสาย เพื่อลดการยึดของข้อต่อ และกระดูกสันหลัง ระหว่างขับรถอาจใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนหลังและรองก้นเพื่อช่วยให้นั่งตัวตรง ปรับเบาะรองรับต้นคอให้พอดีกับสรีระโดยไม่ให้เกิดแรงกดที่ต้นคอมากเกินไป ใส่ใจเป็นพิเศษ กับการเลือกกระจกมองหลังและมองข้าง ใช้กระจกขนาดใหญ่และจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เหลือบตามองได้อย่างชัดเจน โดยที่ไม่ต้องหมุนคอเพื่อเหลียวมองหลังหรือมองข้างมากจนเกินไป การขับรถที่ใช้เกียร์อัตโนมัติจะมีประโยชน์โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบหรือฝืดแข็ง

8.4 กิจกรรมทางเพศ ผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดหลังหรือมีข้อสะโพกยึดติดสามารถ

ดำาเนินกิจกรรมทางเพศได้ โดยเลือกใช้ท่าที่สบายและเหมาะสม ภาวะอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นใน ช่วงที่โรคกำเริบ อาจก่อให้เกิดอุปสรรคกับชีวิตคู่ได้ในบางครั้ง ผู้ป่วยและคู่สมรสควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค ควรเปิดใจคุยกันเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาและ อุปสรรคที่เกิดขึ้น การมีทักษะในการสื่อสาร การมีอารมณ์ขัน และมองโลกในแง่ดี จะช่วยทำาให้ ชีวิตคู่ดำาเนินไปได้อย่างราบรื่น ความซื่อสัตย์และความจริงใจที่คู่สมรสมีให้แก่กันและกัน จะเป็น ภูมิคุ้มกันที่ป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์และยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวที่สร้างความเข้มแข็งให้ กับสถาบันครอบครัวอีกด้วย

8.5 การตั้งครรภ์ ไม่มีข้อห้ามในการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตร แต่ผู้ป่วยที่มีปัญหา

กับข้อสะโพกและข้อต่อกระดูกเชิงกรานอย่างมากอาจต้องพิจารณาผ่าตัดคลอด ระหว่างตั้งครรภ์ น้ำหนักหน้าท้องอาจถ่วงทำาให้หลังแอ่นซึ่งจะทำาให้ปวดหลังเวลายืน การใช้ผ้ารองรับน้ำหนัก หน้าท้องเพื่อกระจายน้ำหนักจะลดอาการปวดหลังลงได้ งดใช้ยาต้านการอักเสบใน 3 ช่วงได้แก่ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และช่วงให้นมบุตร การบริหารร่างกาย ที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์ สามารถทำาได้เมื่ออายุครรภ์เกิน 3 เดือนได้แก่ การออกกำาลังกายใน น้ำหรือแช่น้ำอุ่น ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้โดยไม่ต้องกินยาต้านการอักเสบ

8.6 การเข้าสังคม
ผู้ป่วยไม่ควรท้อใจ เศร้าซึม หรือแยกตัวเองออกจากครอบครัว เพื่อนฝูง และสังคม หากคนรอบข้างมีความได้เข้าใจที่ถูกต้องถึงธรรมชาติของโรคและทราบถึงข้อ จำากัดบางอย่างที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ก็จะทำาให้ผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมทำากิจกรรมส่วนรวมบางอย่าง ที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสภาพของโรคและร่างกายได้ เช่น การออกกำาลังกายเบาๆ หรือ เล่นกีฬาที่ไม่ต้องใช้แรงมาก เป็นต้น